วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สร้างจิตอาสาในตัวเรา


การเป็นจิตอาสา 
บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม











การเป็นจิตอาสา ไม่ติดที่รูปแบบ อาศัยเห็นเป้าหมายร่วมกัน นำความรู้ความสามารถมาลงมือปฏิบัติเลย ประเมินผลที่ความสุขของผู้เป็นจิตอาสา ความสุขของผู้ป่วย

หลักการและเหตุผล: 

ปัญหาที่ซับซ้อนของสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความเสื่อมทางวัฒนธรรม เป็นปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบกับจิตใจของคน ทำให้คนมีปัญหาเรื่องเป้าหมายชีวิตเน้นด้านวัตถุมากเกินไป มีการใช้เวลาส่วนมากไปในทางที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ เหลือเวลาน้อยมากในการประกอบคุณงามความดี ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของทุกศาสนา ความซับซ้อนของปัญหาทำให้เกิดการแตกแยกเป็นปัจเจกบุคคล ต่างคนต่างอยู่ ขาดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อทำความดีที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน แต่ความมีน้ำใจของคนในสังคมไทยไม่เคยเหือดแห้ง จางหายไป และคนไทยก็มีความรู้ความสามารถมาแพ้ชาวต่างประเทศในทุกๆด้าน อีกทั้งทรัพยากรในประเทศก็มีมากมายเป็นที่ได้เปรียบกว่าชาติอื่น เช่นเรามีพระมหากษัตริย์ที่เป็นผู้นำด้านจิตอาสาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผู้นำในการทำสาธารณประโยชน์มากมายทุกพื้นที่ เงินงบประมาณแผ่นดินจากการจัดเก็บภาษีก็มีมา เพียงแต่ยังขาดการประสานเรียงร้อยการทำงานให้มีพลังมากพอที่จะเกิดผลกระทบเป็นวงกว้างในสังคมไทย คนส่วนใหญ่อยากทำความดี แต่คนๆหนึ่งจะลงมือทำความดีเป็นเรื่องที่ยาก ถ้ามีปัญหาอุปสรรคมากก็เกิดความท้อใจเลิกทำความดีได้ง่าย และความดีเป็นเรื่องที่สัมผัสได้เฉพาะตน ทำแทนกันไม่ได้

ดังนั้นถ้ามีการเปิดเวทีในการทำความดีที่ทำได้ง่ายก่อนและอาศัยความต่อเนื่องของการทำความดีจากหลายๆคนเชื่อมเรียงร้อยกัน ก็จะเป็นกระแสของความดีที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ก็จะดึงดูดให้คนอื่นมาร่วมกันทำความดีได้มากขึ้นไปอีก 
จุดประสงค์ของการจัดทำโครงงานนี้
1.เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
2.นำหลักธรรมและพระราชดำริมาใช้ในการดำรงชีวืต
3.ใช้เวาลาว่างจากการศึกษาเล่าเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม และการมีจิตอาสาต่อสังคม
5.รู้จักตัวตนที่แทะจริงของตนเอง ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมและค่านิยมของต่างชาติ จนลืมวัฒนธรรมอันดีงามของไทย และ ไม่ลืมเอกลักษณ์ความเป็นไทย
6.เพื่อเป็นตัวอบ่างของบุคคลรุ่นหลังในการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถาน อันมีคุณค่าเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวพุทธ
วิธีการดำเนินงาน
1) วางแผนประชุมในกลุ่ม ร่วมพูดคุยแสดงความคิดเห็น เสนอและแนะนำวัดที่จะไปบำเพ็ญประโยชน์ และออกเสียงเลือกวัดที่จะไปบำเพ็ญประโยชน์
2) ศึกษา ดูเส้นทางการเดินทางไปวัด และติดต่อทางวัดเพื่อที่จะได้เริ่มทำกิจกรรม
3) จัดตารางเวลาในวันที่เพื่อนๆในกลุ่มมีเวลาว่าตรงกันและกำหนดจุดที่นัดหมายให้เพื่อนเดินทางมารวมกัน
4) ซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จใช้ในการทำกิจกรรม
5) เดินทางไปยังวัด
6) ไปแจ้งทางวัดอีกครั้ง ในวันที่ไปถึงและจะลงมือปฎิบัติจริง

เด็กมอ เด็กวัด


โครงงาน
 เด็กมอ เด็กวัด


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากในปัจจุบัน โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น ทำให้มนุษย์มีค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป และโดยในสมัยของเด็กรุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นมาใน ยุคไอทีนี้ ก็ได้ห่างหายจากการทำบุญ เข้าวัด ฟังธรรม และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างมาก สาเหตุหลักของปัญหานี้อาจเนื่องมาจากการมี วัฒนธรรมใหม่ๆ และเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาในสังคมไทย จำทำให้ เด็ก นักเรียน นิสิต ในยุคสมัยใหม่นี้ หลงลืมวัฒนธรรมอันดีของไทย และหลงลืมการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ในเวลาว่างจากการศึกษาเล่าเรียนส่วนมาก นักเรียน นิสิต นักศึกษาจะใช้เวลาว่างไปกับการเล่นเกมส์ เล่นอินเตอร์เน็ต ดูหนัง ฟังเพลง เสียมากกว่า การเข้าวัด ฟังธรรม หรือการทำสาธารณะประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่ง ณปัจจุบันนี้เด็กไทยได้เสื่อมโทรมทางด้านจิตอาสาเป็นอย่างมาก
 พวกเราคณะผู้จัดทำจึงมีความคิดว่า เราอาจจะห่างหายจากการทำบุญเข้าวัด กันมากเกินไป จึงได้ช่วยกันคิดริเริ่มจัดทำโครงงาน เด็กมอ เด็กวัด นี้ขึ้นมาเพื่อที่ทำให้ พวกเราได้ใช้เวลาว่างจากการศึกษาเล่าเรียนให้เกิดประโยชน์และเพื่อที่จะเป็นการโน้มน้าวใจหรือเป็นแรงจูงใจให้แก่เหล่าบรรดา นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้หันหน้าเข้าวัด และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการทำสาธารณะประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม เหตุที่พวกเราเลือกบำเพ็ญประโยชน์ที่วัด เนื่องด้วย  วัด นั้นเป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจของชาวพุทธ และวัดนั้นถือเป็นโบราณวัตถุที่มีคุณค่า และควรอนุรักษ์ไวในสังคมไทยของเราเพื่อให้ลูกหลานรุ่นต่อๆไปได้เห็นและรู้ซึ่งถึงคุณค่าของ วัด และเนื่องด้วยคณะผู้ขัดทำได้เห็นว่าในบริเวณรอบๆรั้วของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศาสนสถานหลายแห่ง พวกเราคณะผู้จัดทำจึงเลือกที่จะบำเพ็ญประโยชน์ที่วัด เพราะวัดเป็นศาสนสถานเป็นสถาบันศาสนาที่สำคัญ  สถาบันทางศาสนานั้นต้องเป็นผู้นำในการสร้างจิตสาธารณะให้เกิดขึ้น ต้องนำประชาชนกลับไปสู่คำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงเน้นให้เห็นแก่ประโยชน์สุขของสังคมเป็นใหญ่ ไม่บริโภคเกินความจำเป็น หรือ เพราะความอยาก มีความสันโดษ พอใจที่จะมีกินมีอยู่ มีใช้เท่าที่จำเป็นรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เจือจานแก่ผู้อื่น มีความเมตตาอาทรต่อกัน เห็นแก่ผู้อื่นเสมือนเห็นแก่ตนเองรู้จักหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง
              สถาบันทางศาสนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นสถาบันที่ได้รับการเคารพบูชาแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน เป็นสถาบันที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อจิตใจของประชาชน เพราะต่างได้ยึดถือสถาบันนี้เป็นที่พึ่งทางใจมาอย่างเนิ่นนาน ฉะนั้น สถาบันทางศาสนาจึงอยู่ในฐานะที่จะช่วยสร้างสรรค์และพัฒนาจิตใจของคนในสังคมให้หันเข้ามาอยู่ความถูกต้องตามทำนองคลองธรรม และวิธีการพัฒนาจิตสำนึกให้เกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุด ก็คือการสอนด้วยตัวเอง อันหมายถึง การที่ผู้อยู่ในสถาบัน องค์การทางศาสนา พึงต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างแก่คนในสังคมในด้านการช่วยเหลือส่วนรวม และทำให้ได้มีโอกาสที่จะเข้าวัด ทำบุญ ทำประโยชน์ให้วัดได้หลายอย่าง
       นอกจากจะเป็นการที่ทำให้เกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังเป็นการสร้างจิตสำนึกในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีอีกด้วย พวกเราจึงอยากจะเป็นตัวอย่างให้แก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้มีการสร้างจิตสำนึกและมีจิตอาสา เป็นบุคคลที่เจริญทางปัญญา และมีคุณธรรมอีกด้วย