วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Website >> การรู้สารสนเทศ


             Website การรู้สารสนเทศ !!


เว็บไซต์การรู้สารสนเทศ
http://www.informationliteracy.org.uk/
รูปแบบของเว็บไซต์เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมมความสำคัญของสารสนเทศดังนี้
- Information Literacy การรู้สารสนเทศ
- Developing professional practice การฝึกฝนการพัฒนาขั้นสูง
- Marketing Information Literacy การรู้สารสนเทศเพื่อการตลาด
- Research งานวิจัย
- Resources by subject แหล่งที่มา
- Events เหตุการณ์สำคัญ
- Journal of Information Literacy ( JIL ) วารสารของการรู้สารสนเทศ
โดยเว็บไซต์ได้ให้รายละเอียดของ Information Literacy ดังนี้
- Definitions of IL คำจำกัดความของการรู้สารสนเทศ
- Organisations การจัดการการรู้สารสนเทศ
- Information Literacy & Public Libraries การรู้สารสนเทศและห้องสมุดสาธารณะ
- Information Literacy & Special Libraries การรู้สารสนเทศและห้องสมุดพิเศษ
- Information Literacy models แบบอย่างของการรู้สารสนเทศ
- Media literacy การรู้จักการใช้สื่อ
- Information Literacy Journals วารสารการรู้สารสนเทศ
- Examples of Information Literacy articles ตัวอย่างบทความการรู้สารสนเทศ
- Information Literacy websites เว็บไซต์การรู้สารสนเทศ
- Information Literacy blogs บล๊อกการรู้สารสนเทศ
- Information Literacy case studies กรณีศึกษาการรู้สารสนเทศ


เวปไซด์ต่างประเทศที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทางด้านการรู้สารสนเทศโดยเฉพาะ
http://www.webs.uidaho.edu/info_literacy/
รูปแบบของเว็บไซต์ 

http://www.webs.uidaho.edu/info_literacy/ เวปไซด์ต่างประเทศที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับทางด้านการรู้สารสนเทศโดยเฉพาะ มีบอกความหมาย รวมถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศ หน้าเวปไซด์ทุกหน้าก็สามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศได้ทางมุมขวามือด้านบนได้
ในเวปไซด์แห่งนี้ก็จะแยกย่อยข้อมูลเนื้อหาความสำคัญได้ทั้งหมด 7 ประเภท ซึ่งผู้เข้าชมเวปไซด์สามารถคลิกเข้าไปชมได้ทันที ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1 Information 
2 Topics
3 Searching
4 Locating
5 Evaluating
6 Sharing
7 UI Catalog


ห้องสมุดของ Queensland University of Technology ประเทศออสเตรเลียhttp://www.library.qut.edu.au/infoliteracy/

รูปแบบของเว็บไซต์ http://www.library.qut.edu.au/ เป็นเวปไซด์ห้องสมุดของ Queensland University of Technology ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเวปไซด์ของห้องสมุดแห่งนี้ก็จะแบ่งการใช้งานตามหัวข้อหลัก ไม่ว่าจะเป็นส่วนของหน้าหลัก Library Home หน้าเวปไซด์ส่วนของการยืมหนังสือ Borrowing จนกระทั่งหมวดของการรู้สารสนเทศ information literacy ที่ถูกจัดอยู่ในหัวข้อ Library and research help
ในส่วนหน้าที่เป็น หมวดของการรู้สารสนเทศ information literacy นั้นก็จะมีแถบเครื่องมือต่างๆอยู่ทางด้านซ้ายมือ สำหรับนักศึกษาและนักวิจัยหรือผู้เยี่ยมชมที่ต้องการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม อีกทั้งยังมีเมนูให้ค้นหา Keyword ทางด้านขวามือบนของหน้าเวปไซด์อีกด้วย




สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน 
(Institute of Learning and Teaching Innovation)
 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
http://vdo.kku.ac.th/
รูปแบบของเว็บไซต์เป็นบทเรียนออนไลน์ของนักศึกษา ให้ความรู้ครอบคลุมทุกสาขากระบวนวิชา โดยในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยเมนูดังนี้ เสวนาวิชาการ หลักสูตรการเรียนการสอน การพัฒนาการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางวิชาการ หลักสูตรศึกษาทั่วไป หนังสือและคู่มือ ห้องสมุดความรู้ กระดานถามตอบ ปฏิทินกิจกรรม เว็บไซต์ที่น่าสนใจ การฝึกอบรม การเรียนรู้ในเว็บไซต์นี้หากนักศึกษาไม่เข้าใจสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ในบทเรียนออนไลน์ โดยตอนท้ายของแต่ละบทจะมีแบบทดสอบให้ผู้บริการได้ทำเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ
ความเกี่ยวข้องในเรื่องการรู้สารสนเทศ
ในเว็บไซด์จะบอกข้อมูลเกี่ยวกับสารสนเทศดังนี้
1. ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
2. การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3. การเลือกแหล่งสารสนเทศ
4. การเลือกทรัพยากรสารสนเทศ
5. การสืบค้นสารสนเทศโดยให้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
6. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผลสารสนเทศ
7. การเรียบเรียงและนำเสนอสารสนเทศ


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี 
( Academic Resource Center and Information Technology )

http://library.tru.ac.th/
รูปแบบของเว็บไซต์แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆได้แก่ เกี่ยวกับสำนักวิทยบริการ สารสนเทศท้องถิ่น วิทยบริการสาร ฐานข้อมูลออนไลน์ วิทยนิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนออนไลน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ สมุดเยี่ยม รวมทั้งยังมีภาพประกอบในส่วนของการให้บริการและบรรยากาศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความเกี่ยวข้องและเนื้อหาในเรื่องของการรู้สารสนเทศ
ในเว็บไซต์จะบอกข้อมูลเกี่ยวกับสารสนเทศดังนี้
1. สารสนเทศและการรู้สารสนเทศ
2. ทรัพยากรสารสนเทศและกรบริการ
3. การจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ
4. ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์และการค้นคืน
5. หนังสือและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
6. หนังสืออ้างอิง
7. การประเมินสารสนเทศ
8. การศึกษาค้นคว้า

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การรู้สารสนเทศ


การรู้สารสนเทศ (Information Literacy)




ความหมาย      >>  การรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ความสำคัญ

การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้


1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ
2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น

3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น

4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ




              การรู้สารสนเทศเป็นทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะ และกระบวนการอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนา การเรียนรู้ทุกรูปแบบ สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American  Library  Association.   2005   : Online) ได้กำหนดองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 4 ประการ คือ

              1.  ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องกำหนด
เรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า  กำหนดความต้องการสารสนเทศ  ระบุชนิดและรูปแบบที่หลากหลายของแหล่งสารสนเทศที่จะศึกษา  เช่น  ห้องสมุด  ศูนย์สารสนเทศ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ บุคคล สถานที่ อินเทอร์เน็ตและรวมทั้งตระหนักถึงค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่ได้รับและทราบขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น

                2.     การเข้าถึงสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม กำหนดกลยุทธ์การค้นคืนอย่างมีประสิทธิภาพสามารถค้นคืนสารสนเทศออนไลน์หรือสารสนเทศจากบุคคล โดยใช้วิธีการที่หลากหลายสามารถปรับกลยุทธ์การค้นคืนที่เหมาะสมตามความจำเป็นรวมถึงการตัดตอน บันทึก และการจัดการสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ

                3.     การประเมินสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถสรุปแนวคิดสำคัญจากสารสนเทศที่รวบรวม โดยใช้เกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความทันสมัย สามารถสังเคราะห์แนวคิดหลักเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเพื่อพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่เพิ่มขึ้น อะไรคือสิ่งที่ขัดแย้งกัน และอะไรคือสิ่งที่คล้อยตามกัน

               4.      ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถใช้สารสนเทศใหม่ผนวกกับสารสนเทศที่มีอยู่ในการวางแผนและสร้างผลงาน หรือการกระทำตามหัวข้อที่กำหนดทบทวนกระบวนการ พัฒนาการผลิตผลงานของตนเอง และสามารถสื่อสารหรือเผยแพร่ผลงานของตนเองต่อบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ







นอกจากความสามารถดังกล่าวแล้ว ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้าน


อื่นๆ ประกอบอีกอีกด้ว ย ย !!! ได้แก่


                              

                   1.   การรู้ห้องสมุด (Library literacy)   ผู้เรียนต้องรู้ว่าห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่าง ๆ  รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จักอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆ ด้วย
  
                   2.   การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ผู้เรียนต้องรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ การเชื่อมประสานและการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์เอกสาร     การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเตอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรู้ที่ตั้งของแหล่งสารสนเทศ  เป็นต้น

                   3.   การรู้เครือข่าย (Network Literacy)  ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก    สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่น  ๆ

                  4.   การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมาย  สิ่งทีเห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์รายการโทรทัศน์

                  5.   การรู้สื่อ (Media Literacy) ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์และผลิตสารสนเทศจาก  สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อและสามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร

                  6.   การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจิทัลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล   เช่น  สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมาใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไชต์ เป็นต้น

                  7.   การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy) ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การค้นสารสนเทศจากอินเตอร์เน็ต และ
การนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากลและสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ

                  8.   การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญมีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา

                 9.   การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic) การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม    จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป็นต้องอ้างอิงเจ้าของผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็นต้น








ข้อมูลข้างต้นนี้ ได้จากการศึกษาและค้นคว้ามาจาก


บรรณานุกรม

คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. ทักษะการรู้สารสนเทศ. กรุงเทพฯ :
               คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.
รัถพร  ซังธาดาสารนิเทศและการศึกษาค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่  2.  มหาสารคาม  :  ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
               และสารสนเทศศาสตร์, 2539. 
นันทา  วิทาวุฒิศักดิ์.   เส้นทางการจัดการสารสนเทศสู่การจัดการความรู้,   สารสนเทศ.  3(2
               กันยายน   ธันวาคม, 2545.
น้ำทิพย์  วิภาวิน.  ทักษะการใช้ห้องสมุดยุคใหม่. กรุงเทพ ฯ  : เอส อาร์ พริ้นติ้ง, 2546.
สมาน  ลอยฟ้า.  การรู้สารสนเทศ :  ทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศ Information  Literacy
               :  Essential Skill for Information  Society,”  บรรณารักษศาสตร์ มข.  19 ( ; ตุลาคม  ธันวาคม,
               2544. หน้า.  1-5 

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การรู้สารสนเทศ คืออะไร ???

ก่อนที่เราจะรู้ ว่าการรู้สารสนเทศคืออะไร เราควรรู้ความหมายของสารสนเทศก่อน ^^

. . . . . . . .>>>> สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ


การรู้สารสนเทศ คืออะไร??

การรู้สารสนเทศ หรือ Information Literacy  คำนี้ได้มีผู้ให้คำนิยามหรือความหมายไว้หลากหลายท่าน ด้วยกัน ซึ่งสรุปได้ว่า การรู้สารสนเทศ หมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถของบุคคลในการตระหนักถึงความต้องการสารสนเทศ การเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ และนำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนร่วม
ในยุคสมัยที่ทุกประเทศสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไร้ขีดจำกัด การรู้สารสนเทศในแต่ละประเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็น และยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น กับการเปลี่ยนของเทคโนโลยีในสังคมสารสนเทศ ได้มีนักสารสนเทศศึกษาและเล็งเห็นความสำคัญของการรู้สารสนเทศ  โดยสรุปถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศในแง่มุมที่น่าสนใจ ดังนี้
1. เป็นการแสวงหาสารสนเทศตามความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ได้รับรู้โอกาสในการเลือกใช้แหล่งสารสนเทศและแยกแยะแหล่งสารสนเทศได้
3. ได้วิเคราะห์และเลือกใช้สารสนเทศจากเครื่องมือสืบค้นสารสนเทศ เช่น จากคอมพิวเตอร์ และจากเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นๆ
4. มีความสะดวกต่อการใช้มวลชนที่หลากหลายที่เหมาะสมที่สุด
5. มีความระมัดระวังต่อการใช้สารสนเทศทั้งที่เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้
6. สามารถถ่ายทอดสารสนเทศที่รู้ให้ผู้อื่นทราบได้

ซึ่งจากนิยามและความสำคัญต่างๆ สามารถสรุป องค์ประกอบของสารสนเทศไว้ 5 ประการ คือ
1.               ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดต้องการสารสนเทศ มีความตระหนักว่า
สารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
2.               ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ รู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้น
สารสนเทศได้อย่างไร
3. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานะเป็นผู้บริโภค
สารสนเทศที่มีวิจารณญาณ
4. ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ กล่าวคือ สามารถคิด และวิเคราะห์สารสนเทศ
5. ความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความเข้าใจประเด็นต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศ ตลอดจนการเข้าถึงและการใช้สารสนเทศอย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
การรู้สารสนเทศมีบทบาทและความสำคัญต่อการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา เนื่องจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ต่างตระหนักถึงความสำคัญของการรู้สารสนเทศ ว่าเป็นพื้นฐานที่นำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เพราะการรู้สารสนเทศทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งเป็นกลไกนำพาให้บุคคลมีการพัฒนาคุณภาพของตนอยู่เสมอ และหากประเทศใดประชาชนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ถือว่าทรัพยากรมนุษย์ของประเทศนั้นย่อมมีคุณภาพดีกว่าประเทศอื่นๆ และการรู้สารสนเทศยังเป็นวิธีแห่งการมีอำนาจของบุคคลในสังคมสารสนเทศอีกด้วย ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของประเทศในยุคนี้(สมาน ลอยฟ้า, 2544)
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการสร้างสังคมสารสนเทศและสังคมความรู้ เป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นในสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของมนุษย์เอาไว้ 4 ประการ คือ
                1. Learn to know เรียนเพื่อให้มีความรู้และมีวิธีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้ วิธีการเรียนรู้ที่ได้มาไปต่อยอด แสวงหาหรือผลติสร้างความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ
                2. Learn to do เรียนเพื่อที่จะทำเป็น หรือใช้ความรู้ไปประกอบอาชีพและสร้างประโยชน์แก่สังคม
                3. Learn to live with the others เรียนเพื่อดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ในสังคมอย่างมีความสุข และสร้างสรรค์
                4. Learn to be เรียนเพื่อที่จะเป็นผู้ที่จู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ สามารถพัฒนาตนได้เต็มตามศักยภาพ หรือพัฒนาตนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
                จะเห็นได้ว่า 2 ใน 4 เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาลักษณะนิสัยทางจริยธรรม แบบที่3 และ4 เป็นการเรียนรู้เพื่อการมีจริยธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในการพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ เพื่อสร้างลักษณะนิสัยทางจริยธรรมเพื่อความเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคม คือ การสร้างกระบวนการเรียนรู้

 

ทักษะการรู้สารสนเทศ

                ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Skill ) เป็นทักษะที่ทำให้บุคคลนั้นสามารถตระหนักถึงความต้องการของตนเองได้อย่างชัดเจน สามารถวิเคราะห์ความต้องการ กำหนดลักษณะของสารสนเทศที่ตนต้องการได้ สามารถเข้าถึงสารสนเทศ (Ability to access) และเข้าใจสารสนเทศที่มีอยู่อย่างหลากหลายในแหล่งสารสนทศต่างๆ สามารถใช้กลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ รวมทั้งสามารถประเมินหรือวิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ และสามารถนำมาบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ให้เกิดความรู้ได้ (American Library Association, 1996) ซึ่งทักษะการรู้สารสนเทศเกี่ยวข้องทั้งทักษะทางคอมพิวเตอร์ ทักษะการคิดการใช้เหตุผล และทักษะทางภาษา ล้วนเป็นทักษะที่มีความสัมพันธ์กันในการที่จะทำให้เกิดทักษะรู้สารสนเทศได้
                Bruce (1997) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะ 7 ประการ ที่เกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้สารสนเทศที่ประกอบกลุ่มการรับรู้ต่างๆ (perception) ดังนี้
                1. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวถึงการใช้งานและความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                2. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศ เกี่ยวกับลักษณะของแหล่งสารสนเทศประเภทต่างๆ รวมถึงโครงสร้างของแหล่งสารสนเทศ สารมารถใช้แหล่งสารสนเทศได้ด้วยตนเองและอาศัยตัวกลางสารสนเทศ
3. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับกระบวนสารสนเทศ คือ การนำสารสนเทศไปใช้ในสถานการณ์ที่
บุคคลขาดความรู้หรือสารสนเทศ รวมไปถึงการค้นหาและการใช้สารสนเทศที่จำเป็น
4. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับการควบคุมสารสนเทศ ว่าด้วยการกลั่นกรองสารสนเทศ การใช้
ความคิดหรือความจำในการควบคุมสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บและค้นคืนเพื่อการควบคุมสารสนเทศได้
5. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับสร้างองค์ความรู้ องค์ประกอบที่สำคัญ คือ การคิดเชิงวิเคราะห์
(Critical Thinking) รวมไปถึงการจัดเก็บสารสนเทศ การนำสารสนเทศไปปรับใช้กับแนวความคิดส่วนบุคคล
6. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับการขยายองค์ความรู้ จะเป็นความสามารถโดยสัญชาตญาณและ
ความรู้แจ้งอย่างสร้างสรรค์
7. กลุ่มการรับรู้เกี่ยวกับความฉลาด รอบรู้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอย่างชาญ
ฉลาดเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
                เป้าหมายสูงสุดของทักษะการรู้สารสนเทศ คือ การให้ทุกคนกลายเป็นผู้ที่มีทักษะ
สารสนเทศ (Information Literate Person) และสามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ในการศึกษา การทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และผลของการสร้างความรู้และทักษะทางสารสนเทศนี้ จะเป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับสังคมสารสนเทศ และรองรับยุคสมัยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ




บรรณานุกรม


กาญจนา ทวีศักดิ์. (2550, ตุลาคม 8).  เด็กๆ กับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทางจริยธรรม.  มติชนหน้า 7.
จุมพจน์ วนิชกุล. สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น),
2549.
ทรงพันธ์ เจิมประยงค์..ห้องสมุดกับทักษะการเรียนรู้สารสนเทศ. วารสารห้องสมุด .48(1)
: 15-30. 2547.
น้ำทิพย์ วิภาวิน. การจัดการความรู้กับคลังความรู้.  กรุงเทพฯ : เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์. 2547.
สมาน ลอยฟ้า.  การรู้สารสนเทศ : ทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมสารสนเทศ. มนุษยศาสตร์
สังคมศาสตร์. 19(1) ต.ค.-ธ.ค. 2544.
Bruce. C.  Seven faces of information literacy in higher education.From http://sky.fit.qut.edu.au/
bruce/inflit/faces/faces1.htm (July 15, 2007)